Skip to content
IMG_6008-2000

ประวัติความเป็นมา

         จากภูมิปัญญา ความสามารถทางการแพทย์แผนโบราณที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพื่อการสืบสาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านยาสมุนไพรจากรุ่นสู่รุ่น โดยนำมาผสมผสานกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในปัจจุบัน บริษัท แก้วมังกรเภสัช จำกัด จึงได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 เพื่อผลิตยาสมุนไพรแผนโบราณ โดยมีมาตรฐานระดับสากล มีช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ โรงพยาบาลของรัฐ และร้านขายยาชั้นนำ ทั่วประเทศ

หลักการดำเนินงาน

herbs-600

1. Good Agricultural Practice (GAP)

สมุนไพรที่ดี ควรใช้วัตถุดิบสมุนไพรที่ดี มีกระบวนการเพาะปลูกที่ดีเป็นไปตามหลักวิชาการ ซึ่งเน้นการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี เป็นต้น ทางบริษัทฯได้ดำเนินการปลูกพืชสมุนไพรเองหลายชนิด เช่น ฟ้าทะลายโจร, ขมิ้นชัน, เพชรสังฆาต และกวาวเครือขาว เพื่อการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบได้ตามที่ต้องการสำหรับใช้ผลิตยาที่ดี

2. Good Harvesting Practice (GHP)

ยาจากสมุนไพรที่ดี ควรใช้วัตถุดิบสมุนไพรที่ดี มีวิธีการเก็บเกี่ยวที่ดีและเหมาะสม เพื่อให้ได้ส่วนของพืชสมุนไพรที่ต้องการใช้และให้สารสำคัญสูง เช่นการเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูกาลเหมาะสม หรือ ในช่วงอายุที่พืชให้สารสำคัญสูงสุดเก็บเกี่ยวเฉพาะส่วนที่ต้องการใช้ เพื่อลดส่วนที่ไม่ต้องการใช้หรือสิ่งปลอมปนอื่นให้ได้มากที่สุดรวมทั้งมีมาตรการป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่อาจปะปนเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ แมลง หรือพืชชนิดอื่น เป็นต้น ทางบริษัทฯ ได้พัฒนาเกษตรกร ของบริษัทฯ ให้มีความรู้ในการเก็บเกี่ยวได้อย่างถูกวิธี และมีประสิทธิภาพ

3. Good Manufacturing Practice (GMP)

ยาจากสมุนไพรที่ดี ควรมีหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตที่ดี โดยทุกขั้นตอนการผลิตรวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต้องได้รับการควบคุมตรวจสอบอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้หากเกิดปัญหาซึ่งข้อกำหนดสำหรับหลักเกณฑ์ และวิธีการผลิตที่ดี ทางบริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและในระดับสากลคือ GMP PIC/S

4. Good Laboratory Practice (GLP)

ยาจากสมุนไพรที่ดีควรมีการควบคุมคุณภาพโดยมีห้องปฏิบัติที่มาตรฐาน มีการควบคุมคุณภาพทางเคมี เช่น การตรวจสอบสารสำคัญทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เช่น HPLC, SPECTROPHOTOMETER, MOISTURE CONTENT ANALYSER, ROTARY EVAPORATOR เป็นต้น ทั้งยังต้อง ควบคุมคุณภาพทางจุลชีววิทยา เช่น การหาปริมาณจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ ยาจากสมุนไพร ตามข้อกำหนด (MICROBIAL LIMIT TEST) ซึ่งต้องอาศัยบุคลากร ที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี

2piccom
lab-600

5. Good Clinical Practice (GCP)

ยาจากสมุนไพรที่ดี ควรจะมีงานวิจัยทางด้านทางคลินิก เพื่อรับรองสรรพคุณของยา ว่าเป็นไปตามสรรพคุณที่ใช้และควรมีงานวิจัยทางด้านความปลอดภัยของยาสมุนไพร เพื่อให้เกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุดในการรักษาโรค ตำราที่ใช้อ้างอิง เช่น บัญชียาจาสมุนไพร พ.ศ. 2549, Thai herbal Pharmacopeia, เภสัชตำรับอื่น ๆ ทั้งยุโรป และอเมริกา ตลอดจน รวมงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์และเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก