เรื่องของมะแว้งกับอาการไอ

เรื่องของมะแว้งกับอาการไอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum L.

ชื่อสามัญ :

ลักษณะ : ไม้เถา ขนาดเล็ก ลักษณะลำต้นกลมเป็นเถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น มีสีเขียวเป็นมัน ส่วนต่างๆ ของลำต้นมักมีหนามโค้งแหลมและสั้น

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปรี ขอบใบหยักเว้า 2 – 5 หยัก ใบยาวประมาณ 2 – 7 เซนติเมตร ผิวใบอาจเรียบหรือมีหนามเล็กๆ ตามเส้นกลางใบ

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 – 12 ดอก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก ย่นปลายแหลม โคนเชื่อมติดกัน ดอกมีสีม่วงอมชมพู ก้านดอกและก้านช่อเป็นสีเขียว

ผล ลักษณะรูปทรงกลมเล็ก ผิวเรียบเกลี้ยง ผลมีขนาดเล็กกว่าผลของมะเขือพวง ผลดิบสีเขียวมีลายเป็นสีขาว เมื่อสุกก็จะเปลี่ยนเป็นสีแดงใส ข้างในผลมีเมล็ดแบนๆ อยู่เป็นจำนวนมาก

ประโยชน์ทางยา

ใบและราก : รสขม เป็นยาบำรุง ใช้รักษาวัณโรค ทำเป็นยาแก้ไอ

ต้น : รสขื่นเปรี้ยว ขับเหงื่อ แก้ไอ แก้หืด ขับปัสสาวะ

ผล : รสขมขื่นเปรี้ยว ผลสดแก้ไอ แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ ผลแห้งปรุงเป็นยาแก้ไอ ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร แก้เบาหวาน และมีฤทธิ์ช่วยทำให้น้ำตับอ่อนเดินได้สะดวก

าก : รสขมขื่นเปรี้ยว แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ กัดและขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับลม

แหล่งที่มาของข้อมูล

ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล